วงเวียน
วงเวียนที่มีปลายขางอเข้าหรืองอออก เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของชิ้นได้ค่าคร่าวๆ โดยปลายของวงเวียนถ่ายขนาดจะถูกปรับให้สนิทพอดี แล้วจึงนำไปถ่ายลงบนบรรทัดเหล็กอีกครั้งหนึ่ง
ลักษณะวงเวียน ชั้นโลหะบางๆ 2 ชิ้นที่ต่อกันด้วยจุดหมุน ทําให้เกิดเป็น รูปตัว V ปลายขาข้างหนึ่งเป็นปลายแหลม อีกขาหนึ่งจะใส่ดินสอไว้ จะมีก้านที่มี เกลียวซึ่งมีนอตขนาดเหรียญเล็กๆ ติดอยู่ จะเชื่อมขาทั้งสองข้างเข้าด้วยกันตรงใกล้ๆ จุดหมุน เมื่อหมุนนอตจะเป็นการปรับความกว้างของขา วงเวียนมีขนาดความยาว น้อยกว่าความยาวของมือผู้ใหญ่
วงเวียน ถ่ายชนิดวัดนอก
หรือเรียกว่าเขาควาย เป็นเครื่องมือวัดขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของวัตถุทรงกระบอกกลม โดยที่ปลายขาของวงเวียนจะงอเข้า มีลักษณะเป็นสปริง
วิธีการตรวจวงเวียนวัดนอก
- นำวงเวียนถ่ายขนาดชนิดวัดนอกไปคร่อมตรงกึ่งกลางของวัตถุทรงกลมหรือกระบอกกลมที่จะตรวจวัด และทำการปรับสกรูเพื่อให้ขาของวงเวียนถ่ายขนาดให้แนบสนิทชิดพอดี
- นำวงเวียนถ่ายขนากชนิดวัดนอกไปอ่านค่าที่ตรวจได้บนบรรทัดเหล็ก
วงเวียน ถ่ายขนาดชนิดวัดใน
หรือเรียกว่าตีนผี เป็นเครื่องมือวัดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในของวัสดุทรงกลม ที่มีลักษณะเหมือนกับวงเวียนถ่ายขนาดชนิดวัดนอกแต่ที่ปลายขาของวงเวียนจะงอออก วิธีการใช้งานจะเหมือนกับวงเวียนถ่ายชนิดวัดนอก
วิธีการตรวจวัดวงเวียนใน
- ให้กดขาทั้งสองของวงเวียนถ่ายชนิดวัดในเข้าหากัน และสอดปลายขาเข้าไปในรูที่จะทำการตรวจวัดแล้วปล่อย และค่อยๆ ตึงวงเวียนถ่ายขนาดให้ปลายขาอยู่ในตำแหน่งขนานกับขอบรู แล้วหมุนเกลียวล็อคให้อยู่ในตำแหน่งนี้
- ดึงวงเวียนถ่ายขนาดออกมา แล้วถ่ายขนาดที่ตรวจวัดได้บนบรรทัดเหล็ก
บรรทัดวัดมุม
เครื่องมือวัดมุมง่ายๆ แบบเหลี่ยมและครึ่งวงกลมมีข้อจำกัด คือ มัน สามารถวัดมุมได้แค่ 180 องศา ซึ่งบรรทัดวัดมุม จะแก้ปัญหานี้ได้ โดยติดตั้งใบวัดมุมแบบครึ่งวงกลมเข้าที่ปลายไม้บรรทัดเหล็ก จะมีจุดตรงกลางนั้น 1 จุดใช้วัดมุมได้ตั้งแต่ 0- 360 องศา เมื่อขอบของบรรทัดเหล็กและใบวัดมุม ขนานกัน เครื่องหมายเล็กๆที่ปลายของบรรทัดเหล็กจะชี้ตรงเลข 0 บนใบวัดมุม
วิธีการตรวจ บรรทัดวัดมุม
- คลายสกรูที่ยึดใบวัดมุมกับบรรทัดเหล็กจนใบวัดมุมสามารถหมุนได้
- วางขอบของบรรทัดเหล็กชิดด้านใดด้านหนึ่งของวัตถุที่จะทำการวัดมุม และหมุนใบวัดมุมไปชิดกับอีกด้านหนึ่งของมุม
- อ่านค่าองศาบนสเกลหลัก โดยมองตั้งฉากกับสเกลหลักเพื่อความถูกต้อง
เช็คราคา เครื่องมือวัด ทั้งหมด
ไมโครมิเตอร์
เป็นเครื่องมือวัดละเอียดอีกชนิดหนึ่งที่สามารถวัดได้ละเอียดถึง 1/1000 ของนิ้ว (0.001นิ้ว) หรือ 0.01 มิลลิเมตร จะต้องเก็บรักษาให้สะอาด ปราศจากสารใดๆ ไมโครมิเตอร์มีหลายชนิด คือ ไมโครมิเตอร์วัดนอก ไมโครมิเตอร์วัดใน ไมโครมิเตอร์วัดลึก และไมโครมิเตอร์วัดรู เป็นต้น
การแบ่งสเกลของ ไมโครมิเตอร์ หน่วยอังกฤษ (นิ้ว)
แกนวัดของไมโครมิเตอร์หน่วยอังกฤษจะเคลื่อนที่แบบสกรูเกลียว มีขนาด 40 เกลียวต่อนิ้ว ดังนั้น 1 รอบการหมุนของแกนวัดจะเคลื่อนที่ตามความยาวเท่ากับ 1/40 เกลียวหรือ 0.025 นิ้ว และที่สเกลเครื่องหลักจะมีเครื่องหมายแนวดิ่ง 40 เส้นต่อ 1นิ้ว ที่สอดคล้องกับจำนวนของเกลียวบนแกนวัด เพราะฉะนั้นเครื่องหมายแนวดิ่ง 1 เส้นจะเท่ากับ 0.025นิ้ว 4เส้น เท่ากับ 0.100 นิ้วแต่ละขีดบนปลอกหมุนจะเท่ากับ 0.001 นิ้ว เมื่อปลอกหมุน หมุนครบ 1 รอบจะเท่ากับ 0.025 นิ้วเมื่อปิดไมโครมิเตอร์สนิท เลข 0 บนปลอกหมุนและเส้น 0 บนปลอกหมุนจะตรงกับเส้นในแนวนอน
การแบ่งสเกลของ ไมโครมิเตอร์ หน่วยเมตริก (มิลลิเมตร)
เกลียวแกนวัดของไมโครมิเตอร์หน่วยเมตริดปกติจะมี 2 เกลียวต่อมิลลิเมตร ดังนั้นแกนวัดหมุนไป 1 รอบจะเคลื่อนที่ตามความยาวเท่ากับ 0.5 มิลิเมตร และที่สเกลหลักจะมีเครื่องหมายแนวดิ่ง 1 เส้น เท่ากับ 1 มิลลิเมตร แต่ละเส้นแบ่งออกเป็น 0.5 มิลลิเมตรปลอกหมุนจะถูกแบ่งออกเป็น 50 ขีดแต่ละขีดจะเท่ากับ 0.01 มิลลิเมตร 1/100 ของมิลลิเมตร
อุปกรณ์จำกัดแรงบิด
การอ่านค่าของไมโครมิเตอร์จะไม่ถูกต้องถ้าปลอกหมุนถูกขันแน่นเกินไป ดังนั้นไมโครมิเตอร์จะติดตั้งอุปกรณ์แรงบิดจำกัดบนปลอกหมุนซึ่งอาจจะเป็นล้อเฟืองจำกัดแรงบิด หากขันแน่นเกินไป ล้อเฟืองจำกัดแรงบิดจะทำให้ปลอกหมุนแน่กับชิ้นงานด้วยแรงบิดที่แน่นอน และไมโครมิเตอร์จะไม่เคลื่อนที่เข้าไปอีกด้วย เป็นผลวัดได้ถูกต้อง เที่ยงตรง และแม่นยำมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ยังไม่มีทักษะ
วิธีการใช้ไมโครมิเตอร์
- วิธีการใช้ไมโครมิเตอร์วัดนอก นำไมโครมิเตอร์สวมเข้ากับงานที่จะวัด ถ้าเป็นวัตถุทรงกระบอกลม จะต้องให้คร่อมตรงกลางของวัตถุทรงกระบอกลม แล้วหมุนปลอกหมุนด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ แล้วจึงเปลี่ยนมาหมุนล้อเฟืองจำกัดแรงบิดที่หมุนได้ทางเดียวช้าๆ จนได้ยินเสียงเเก๊กๆ 2-3 ครั้งจึงหยุด อย่าปรับปลอกหมุนอัดจนแน่น เพราะจะทำให้เสียหายได้ แล้วหมุนน็อตล็อคแกนวัดเพื่อป้องกันแกนวัดเคลื่อน แล้วจึงดึงออกจากชิ้นงานมาทำการอ่านค่าที่วัดได้
- วิธีการใช้ไมโครมิเตอร์วัดในเดียวกันเหมือนกับการวัดนอก โดยนำไมโครมิเตอร์สวมเข้าไปในรูของชิ้นงานที่จะวัดและจะต้องให้ปากวัดอยู่กึ่งกลางของรูและขนานกับรู ของชิ้นงานที่จะวัดแล้วหมุนปลอกหมุนด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ปลอกหมุนจะเลื่อนแกนวัดเข้าจนชนกับชิ้นงาน แล้วจึงมาเปลี่ยนหมุนล้อเฟืองจำกัดแรงบิดที่หมุนได้ทางเดียวช้าๆ
- วิธีการใช้ไมโครมิเตอร์วัดลึก ต้องวางบนโต๊ะระดับ จึงจะทำให้วัดค่าได้ถูกต้อง โดยการนำขอบของไมโครมิเตอร์วัดลึกวางลงบนขอบชิ้นงานที่จะวัด และอยู่ตรงกึ่งกลางของรู แล้วหมุนด้วยนิ้วแม่มือและนิ้วชี้ ปลอกหมุนจะเลื่อนแกนวัดเข้าจนชนกับพื้นโต๊ะระดับ แล้วจึงเปลี่ยนมาหมุนล้อเฟืองจำกัดแรงบิดที่หมุนได้ทางเดียวช้าๆจนได้ยินเสียงเเก๊กๆ 2-3 ครั้งจึงหยุด
การดูแลรักษา
- เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของไมโครมิเตอร์ Micrometer ควรมีการดูแลอย่างเหมาะสม ดังนี้
- เช็ดทำความสะอาดด้วยผ้าสะอาดให้ทั่วทุกครั้ง ก่อนเก็บเข้ากล่อง
- ไม่ควรหมุนให้หน้าผิวสัมผัสวัดงานทั้งสองด้านเข้ามาชนกันจนแน่น เพราะจะทำให้เกิดการเสียหายจากแรงกดอัดได้ ควรใช้กระดาษน้ำมันคั่นกลางหรือเว้นช่องว่างไว้เล็กน้อยก่อนเก็บเข้ากล่องแทน
- ทำความสะอาดปากวัดทั้งสองด้านหลังเลิกใช้งานเป็ประจำ ด้วยการนำกระดาษที่อ่อนนุ่มใส่ระหว่างหน้าผิวสัมผัสวัดงานทั้งสองด้าน ก่อนหมุนแกนวัดทั้งสองด้านชนกระดาษเบาๆ เป็นการทำความสะอาดผิวสัมผัส
- หากต้องการหมุนไมโครมิเตอร์อย่างรวดเร็ว ไม่ควรใช้นิ้วมือหมุนรัวๆ เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายหรือทำให้สเกลวัดคลาดเคลื่อนได้ ควรใช้ฝ่ามือค่อยๆหมุนเลื่อนแกนวัดแทน
- ไม่ควรใช้ไมโครมิเตอร์วัดวัตถุที่มีผิวหน้าหยาบ เพราะจะทำให้ผิวสัมผัสวัดงานเกิดความเสียหาย หรือ เสียสมดุลย์ศูนย์ได้
- ไม่ควรใช้ไมโครมิเตอร์วัดชิ้นงานที่มีอุณหภูมิสูงมากๆ ไม่ควรใช้ไมโครมิเตอร์วัดชิ้นงานที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ จะทำให้ไมโครมิเตอร์เสียหายได้
- ควรเช็ดทำความสะอาดไมโครมิเตอร์และหล่อลื่นเป็นประจำ
- เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของการวัด ควรสอบเทียบความเที่ยงตรงไมโครมิเตอร์ตามตารางการสอบเทียบอย่างสม่ำเสมอ
เช็คราคา ไมโครมิเตอร์
ไดอัลเกจ
ไดอัลเกจใช้ตรวจสอบการจัดตำแหน่งของส่วนประกอบของเครื่องจักร ซึ่งจะมีสองชนิดได้แก่ ชนิดอ่านสมดุลคือ สามารถอ่านค่าบวกไปทางด้านขวามือของเลข 0 และอ่านค่าลบไปทางด้านซ้ายมือของเลข 0 จะประกอบด้วยหน้าปัดแบบนาฬิกาและเข็มชี้ เพื่อแสดงขนาดที่ขึ้นหรือลด หน้าปัดจะมีการแบ่งขีดอย่างละเอียดเพื่อการวัดที่แม่นยำ แกนวัดและหัววัดแบบสปริงจะเลื่อนขึ้นลงจากเสื้อไดอัลเกจ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นขีดๆ ตั้งแต่ 0.01 มิลลิเมตร ถึง 0.001 มิลลิเมตร (0.001นิ้วถึง 0.00005 นิ้ว)
การประยุกต์ใช้งาน
- ใช้ในการตรวจสอบการหนีศูนย์ของเครื่องมือ หรือแกนหมุน หรือเพลา การหนีศูนย์หรือการส่ายของแกนหมุนหรือเพลาที่เกินค่าที่กำหนด จะให้เกิดการเสียหายของเครื่องจักรได้
- ใช้ตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำ
- ใช้ในการปรับระดับพื้นโรงงานหรือการสอบเทียบเครื่องจักรก่อนที่จะผลิต
- ใช้ตรวจจับการตั้งศูนย์ของชิ้นงานกลึงในหัวจับแบบ 4หัว
- ใช้ตรวจจับการหนีศูนย์ระหว่างเพลาขับและตาม
เช็คราคา ไดอัลเกจ
Comments
Loading…